Volcanic

  
  ตะกร้าสินค้า (0)       

ปรากฏการณ์ภูเขาไฟ แบ่งออกเป็น 


ภูเขาไฟมีพลัง (active volcanoes) 

 ภูเขาไฟสงบ (dormant volcanoes)

ภูเขาไฟดับสนิท (extint volcanoes) 

 

 

ภูเขาไฟที่อยู่ในสภาวะมีการปะทุอย่างต่อเนื่องหรือขาดหายไปเป็นช่วงให้จัดเป็นภูเขาไฟมีพลัง เช่น ภูเขาไฟเอ็ตนา  (Etna) ในเกาะชิชิลีตอนใต้ประเทศอิตาลี ส่วนภูเขาไฟที่ปัจจุบันไม่มีพลัง แต่ได้เคยปะทุขึ้นในอดีต เรียกว่า ภูเขาไฟสงบเช่น ภูเขาไฟวิสุเวียสในอิตาลี ที่ได้ปะทุขึ้นและสงบมานานหลายศตวรรษ ส่วนภูเขาไฟที่ไม่มีการปะทุอีกในอดีตกาล เรียกว่า ภูเขาไฟดับสนิท ในประเทศไทยมีภูเขาไฟดับสนิทหลายแห่ง เช่นที่ อำเภอเมาะ จังหวัดลำปาง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ์ จังหวัดบุรีรัมย์  ผลจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อภูเขาไฟปะทุได้พ่นวัสดุออกมาหลากหลาย ซึ่งอาจแปรผันได้ตั้งแต่เป็นแก๊สต่าง ๆจนถึงเศษหินขนาดมหึมา หรืออยู่ในส่วนประกอบ 3 สถานะ คือ แก๊ส ของเหลว และของแข็ง


 

1. แก๊ส 

แก๊สที่พวยพุ่งออกมาจากภูเขาไฟส่วนใหญ่ประกอบด้วย ไอน้ำที่มีปริมาณหลากหลายของคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สไข่เน่า และคลอรีน ในช่วงมีการปะทุแก๊สที่เล็ดลอดอาจผสมรวมกันเข้ากับฝุ่นภูเขาไฟปริมาณมาก และบ่อยครั้งที่พวยพุ่งจากปากปล่องภูเขาไฟมีกลุ่มควันดำโขมง ซึ่งอาจมองเห็นได้หลายกิโลเมตร เช่น ภูเขาไฟกรากะตัว (Krakatoa) ระเบิดเมื่อ พ.ศ.2426 ที่ช่องแคบสุมาตรา ระหว่างเกาะชวากับเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

2. ของเหลว 

ของเหลวที่ได้จากภูเขาไฟคือ ลาวา ปริมาณของหินหลอมเหลวร้อนระอุ โดยทั่วไปลาวาปะทุจากปากปล่องบนยอดภูเขาไฟ แต่พบไม่บ่อยที่ลาวาได้แตกทะลักออกมาทางด้านข้างปล่องและเล็ดลอดออกมาตามรอยแตกที่ได้พัฒนาตัวมาตามเขตพังทลายง่ายในเหล่าบรรดาลาวามีสมบัติทางเคมีและทางกายภาพต่างกัน และสมบัติเหล่านี้อาจสะท้อนถึงรูปแบบภูเขาไฟปะทุ นอกจากนี้องค์ประกอบทางเคมีขอu3591 .ลาวาก็มีอิทธิพลต่อความหนืด ซึ่งส่งผลกระทบอัตราและระยะทางในการไหลหลาก และยังผลต่อถึงรูปทรงกรวยภูเขาไฟได้เช่นกัน และจะทำให้มีบางสิ่งบนโครงสร้างผิวของหินที่เกิดขึ้น เมื่อหินที่หลอมเหลวแข็งตัว เนื่องจากลาวามีลักษณะต่างกัน นักธรณีวิทยาได้จำแนกพวกนี้ออกเป็นสภาพกรด สภาพด่างและสภาพกลาง ลาวาสภาพกรดมีปริมาณซิลิกาสูง (ร้อยละ 65-75) มักมีความหนืดสูงและปะทุบ่อยลาวาสภาพด่างมีซิลิกาต่ำ(น้อยกว่าร้อยละ 50) ความหนืดน้อยและไม่ค่อยปะทุ เพราะแก๊สที่ละลายปนสามารถเล็ดลอดออกจากลาวาที่มีความเหลวมากกว่าได้ง่าย ลาวาสภาพกลางมีปริมาณซิลิกาอยู่ระหว่างสภาพกรดและด่าง ร้อยละ 50-60     องค์ประกอบของลาวาและวิธีการเย็นตัวลงและแข็งตัวบ่อยครั้งสะท้อนถึงโครงสร้างผิวของหิน บางครั้งลาวาทะลักขึ้นมามีแรงไม่พอ ทำให้ลาวาแข็งตัวรอบบ่อนั้นเกิดเป็น ลาวากรวยสาดกระเซ็น (spatter cone)   เมื่อลาวาหลากไหลบ่าไปบนพื้นผิวโลกมีการเย็นตัวลงและลดความดัน โดยยอมให้แก๊สที่กักอยู่เล็ดลอด แก๊สที่เล็ดลอดเหล่านี้ทำให้เกิดฟองอากาศ เมื่อลาวาเย็นตัวได้รูพรุนว่างเปล่า ลาวาปนกรวดภูเขาไฟแข็งขึ้น ประกอบด้วยรูขรุขระมากมาย เรียกว่า ตะกรันภูเขาไฟ(scoria) หากผิวลาวาปกคลุมด้วยแท่งหนามแหลมของตะกรันภูเขาไฟ เรียกว่า อาอา (aa) และลาวาที่มีผิวค่อนข้างเรียบแบบคลื่นหรือผิวเกลียว เรียกว่า ลาวาปาฮอยฮอย(pahoehoe) ทั้งสองพจน์นี้มีกำเนิดมาจากหมู่เกาะฮาวาย เป็นสถานที่พบแบบฉบับการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก

 

3. ของแข็ง 

หินอัคนีพุ โดยทั่วไปพบในรูป ลาวาหลาก (lavaflow) ตามธรรมชาติคล้ายแผ่นหินแบนอาจแผ่ปกคลุมได้หลายร้อยตารางกิโลเมตร และลึกเกือบกิโลเมตร ลาวาหลากเกิดร่วมกับภูเขาไฟและส่วนอื่นได้ไหลขึ้นมาตามรอยแตก มักแสดง แนวแตกเสาเหลี่ยม (columnar joint)  และยังมีก้อนขรุขระของตะกรันภูเขาไฟ นอกจากนี้วัสดุแข็งหลากหลาย ซึ่งอาจพ่นมาจากภูเขาไฟปะทุระเบิดและสสารนี้อาจมีขนาดตั้งแต่ฝุ่นละเอียดมากไปจนถึงก้อนหินมหึมาหนักหลายตัน หากของแข็งเหล่านี้แข็งตัวขึ้นเป็นหิน เรียกว่า ตะกอนภูเขาไฟ (pyroclastic) และหากอนุภาคลาวาปลิวว่อนในอากาศ จับตัวกันขึ้นเป็น เถ้าธุลีภูเขาไฟ (volcanic ash)  ฝุ่นภูเขาไฟ จนถึงก้อนวัสดุร่วน เรียกว่า ชิ้นส่วนภูเขาไฟ (tephra) ซึ่งลาวาแข็งได้หมุนควงแหวกอากาศ มีลักษณะวัตถุทรงกลมหรือยาวรี่คล้ายลูกสาลี ขนาดใหญ่กว่า 64 มม. เรียกว่า บอมบ์ภูเขาไฟ (volcanic bomb) พบกระจัดกระจายตามเชิงเขาในภาคอีสานตอนใต้ของประเทศไทย เช่นเขาพนมรุ้ง เขากระโดง ภูอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์  และหากมีลักษณะสะเก็ดเหลี่ยม เรียกว่า บล็อกภูเขาไฟ (volcanic block) หากมีขนาดประมาณ 2-64 มม. เรียกว่า มูลภูเขาไฟ (lapilli) และเป็นเนื้อแก้วชนิดด่าง เรียกว่า กรวดภูเขาไฟ (volcanic cinder)



 

ประเภทของภูเขาไฟ 


ภูเขาไฟจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามโอกาสแห่งการระเบิด คือ

 
                         1 ภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ (active volcano) เป็นภูเขาไฟพร้อมที่จะระเบิดได้ทุกเวลา เบื้องล่าง ภายใต้ภูเขาไฟมีแมกมาอยู่ ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 1,300 ลูก ส่วนมากมีอยู่ในมลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประมาณร้อยละ 15 อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย 

 
                         2 ภูเขาไฟที่สงบ (domant volcano) เป็นภูเขาไฟที่ขณะนี้ดับอยู่ แต่อาจจะระเบิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ เช่น ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้นภายใต้ภูเขาไฟที่สงบจะมีแมกมาร้อนเป็นของไหลอยู่ ไอน้ำ และแก๊สร้อนที่ปนอยู่จะทำให้แมกมามีความดันสูง ถ้าไอน้ำและแก๊สร้อนที่ปนอยู่มีมากก็ยิ่งมีความดันสูงมากด้วย ถ้าแรงดันภายในมากกว่าน้ำหนักของเนื้อหินที่กดทับอยู่ จะเกิดการระเบิดพ่นชิ้นส่วนภูเขาไฟออกมา หลังการระเบิดอาจมีการสะสมความดันภายในอยู่ภายใต้ภูเขาไฟต่อไป เมื่อความดันภายในเอาชนะแรงกดภูเขาไฟลูกนั้นก็จะระเบิดใหม่ได้ 

 
                         3 ภูเขาไฟที่ดับแล้ว (extinct volcano) เป็นภูเขาไฟที่ดับไปแล้วอย่างสนิท ไม่มีการระเบิดอีก เนื่องจากใต้เปลือกโลกบริเวณนั้นสงบและอยู่ในภาวะเสถียรแล้ว เช่น ภูเขาไฟคีรีมันจาโร ประเทศแทนซาเนีย ภูเขาไฟที่สงบแล้วบางลูกมีอายุมากจนบางครั้งไม่เหลือรูปทรงของภูเขาอีก เนื่องจากถูกกัดกร่อนตามธรรมชาติ 
                        

ภูเขาไฟบางลูกที่อยู่ใต้น้ำอาจจะยังไม่ระเบิด เพราะระดับน้ำลึกกดอัดไว้ เมื่อลาวาพอกพูนขึ้นทำให้ภูเขาไฟสูงขึ้น ความลึกก็ลดลงทำให้แรงอัดของน้ำลดลงด้วย จนแรงดันภายในชนะแรงกดของน้ำเกิดการระเบิดออกมา ปัจจุบันมีภูเขาไฟใต้น้ำอีกจำนวนมากที่ยังไม่เกิดการระเบิด ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการระเบิดของภูเขาไฟ ได้แก่ แมกมาที่มีทั้งความดันและอุณหภูมิสูงมาก รอยต่อของแผ่นธรณีภาค และรอยแตกบนแผ่นธรณีภาค

 

 


Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  2,696
Today:  10
PageView/Month:  11

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com