Volcanic

  
  ตะกร้าสินค้า (0)       

ปรากฏการณ์ภูเขาไฟและการปะทุของลาวายังผลให้เกิดภูมิลักษณ์หลัก 4 แบบคือ ที่ราบสูงบะซอลต์หรือที่ราบลาวา เทือกเขาภูเขาไฟ ก้อนกรวดภูเขาไฟและแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (caldera)


       1.  ที่ราบสูงบะซอลต์หรือที่ราบลาวา (Plateau basalt or lava plain)เกิดจากการปะทุลาวามหาศาลขึ้นมาตามรอยแตกและไหล่แผ่ซ่านเป็นชั้นเหนือพื้นผิวโลกกลายเป็นที่ราบบะซอลต์กว้างไพศาล มีการสะสมหนา บางแห่งหนากว่า 1000 เมตร เช่น ที่ราบสูงแม่น้ำโคลัมเบีย ปกคลุมหลายมลรัฐในตะวันตกเฉียงเหนืออเมริกา (ภาพที่ 4-14) ที่ราบสูงเดคคาน(Deccanplateau) ของอินเดีย และทีราบสูงปาราเน (Parana) ในทวีปอเมริกาใต้


   
   

2.  เทือกภูเขาไฟ


เทือกเขาเหล่านี้ประกอบด้วย ผลผลิตภูเขาไฟที่ปะทุออกจากกลางปล่องและจำแนกออกเป็นกรวยภูเขาไฟระเบิดหรือ กรวยกรวดภูเขาไฟ (cinder cone) กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (composite cone orcomposite volcano or stratovolcano) และ โดมลาวาภูเขาไฟ (lava dome) หรือ กรวยลาวาภูเขาไฟ (lava   cone) หรือ ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano)กรวยภูเขาไฟระเบิดทั้งหลายเกิดขึ้นจากการปะทุระเบิดสืบต่อกันมาครั้งแล้วครั้งเล่า ชั้นเอียงเทของตะกอนภูเขาไฟทับถมรอบปากปล่องภูเขาไฟ ทำให้กรวยแบบนี้สูงกว่า 300 เมตร และมักเป็นผลจากการระเบิดภูเขาไฟเพียงครั้งเดียวกรวยภูเขาไฟสลับชั้นเป็นภูเขาไฟที่มีความชัน ประกอบด้วยลาวาและวัสดุตะกอนภูเขาไฟที่ผุพังแบบผิวแผ่น เป็นหลักฐานแสดงถึงช่วงที่มีการสงบลงและการปะทุระเบิดสลับกัน ประกอบด้วยหินหนืดพวกแอนดีไซต์ที่แทรกซอนขึ้นมาจากเปลือกโลก เช่น ภูเขาไฟวิสุเวียส ในอิตาลีและฟูจิยามาในญี่ปุ่น 

3. ปากปล่องภูเขาไฟ


คือที่ลุ่มรูปปล่องบนยอดภูเขาไฟทะลุไปถึงใจกลางที่เกิดการระเบิดขึ้น ปากปล่องส่วนมากเกิดมาจากผลของปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิด และเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ควรเกิน 1.5 กิโลเมตร หรือมีความลึกเกินกว่าร้อยเมตรโดมลาวาภูเขาไฟหรือภูเขาไฟรูปโล่กว้างไพศาล มีความลาดน้อย ลักษณะแสดงผิวบนนูนมนน้อย ภูเขาไฟชนิดนี้ประกอบด้วยหินหนืดบะซอลต์หลากชนิดที่คลุกเคล้ากันมาก เกิดจากกลางปล่องหรือปะทุออกมาด้านข้างผ่านรอยแตก ขึ้นมาจากชั้นเนื้อโลก ได้แก่ ภูเขาไฟลูกใหญ่ของเกาะฮาวาย



4. แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด


เกือบเป็นรูปวงกลม ที่ลุ่มรูปแอ่งอยู่บนยอดภูเขาไฟและใหญ่กว่าปล่องภูเขาไฟมาก มีด้วยกัน2 ชนิด คือ ชนิดแรกเป็นผลพวงมาจากปรากฏการณ์ระเบิดและอีกชนิดเป็นผลจากการยุบตัวหรือจมตัวลง แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดชนิดระเบิดมาจากผลของการระเบิดภูเขาไฟอย่างรุนแรง ทำให้ปริมาณหินมหาศาลเคลื่อนย้าย แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดที่ยุบตัวหรือจมตัวลงเป็นผลจากที่ส่วนบนของภูเขาไฟยุบตัวลงเนื่องจากหินหนืดที่พยุงไว้ได้อ่อนตัวลงทันควัน เชื่อว่าแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดอาจเกิดจากทั้งผลการระเบิดและยุบตัวลงก็ได้

 

                                                                                                             

 

พุแก๊ส พุน้ำร้อนและพุน้ำร้อนไกเซอร์

     

 ปรากฏการณ์บางอย่างซึ่งได้เกิดขึ้นร่วมกันในพื้นที่มีปรากฏการณ์ภูเขาไฟหรือปรากฏการณ์หินอัคนีอื่น ได้แก่ พุแก๊ส (fumarole) พุน้ำร้อน (hot spring) พุน้ำร้อนไกเซอร์ (geyser) มีรายละเอียดดังนี้

 

(1) พุแก๊ส


คือแก๊สและไอน้ำร้อนที่พวยพุ่งออกมาตามปล่องหรือรอยร้าวพื้นผิวโลก พุแก๊สบางแห่งในอิตาลีและนิวซีแลนด์มีปริมาณเพียงพอแก่การนำไปปั่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ส่วนพุแก๊สที่มีลักษณะแก๊สกำมะถันฟุ้งกระจายมาก เรียกว่า พุแก๊สไข่เน่า (solfataras)


 (2) พุน้ำร้อน


เกิดจากน้ำใต้ดินที่ไหลไปกระทบกับมวลขนาดใหญ่ของหินหนืดที่ยังร้อนระอุอยู่และอยู่ใกล้ผิวดิน และมักมีรอยเลื่อนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ในประเทศไทยพุน้ำร้อนพบมากในภาคเหนือและภาคใต้ หลายแห่งพัฒนาขึ้นมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่อาบน้ำร้อนเพื่อสุขภาพ บ่อน้ำร้อนในประเทศไทยที่มีชื่อเช่น ที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮองสอน ที่หาดส้มแป้น จังหวัดระนอง ที่โป่งกระทิง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี บ่อน้ำร้อนรัตนโกสัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎรธานี สระมรกต อำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ และ วัดเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เป็นต้น


(3) พุน้ำร้อนไกเซอร์


เป็นพุน้ำชนิดพิเศษที่มีน้ำร้อนและไอน้ำร้อนพุ่งขึ้นเป็นลำสูงเป็นช่วงๆ เกิดขึ้นในพื้นที่มีอุณหภูมิพื้นดินสูงผิดปกติ และมีรอยแตกเป็นแนวแคบยาวคล้ายกับที่เกิดในหินต่างๆ น้ำใต้ดินอยู่ลึกลงไปตามรอยแตกเหล่านี้มีความร้อนจนอุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือดของน้ำ อาจเนื่องด้วยมีแรงดันขับให้น้ำขึ้นสู่ข้างบน น้ำขึ้นมาจึงมีความร้อนระอุและเดือด เรียกว่า โป่งเดือด เช่น ป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และหากมีแรงดันสูงมากก็เป็นสาเหตุให้น้ำที่ร้อนอยู่ข้างบนพุ่งขึ้นสูง และเมื่อหมดแรงดันก็หยุดชั่วขณะรอจนมีแรงดันพอก็พุ่งขึ้นมาใหม่สลับเป็นช่วงตลอดไป พบว่ามีพุน้ำร้อนไกเซอร์ร้อยกว่าแห่ง ที่มีชื่อเสียงได้แก่ อุทยานแห่งชาติ Yellow Stone มลรัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา ไอซ์แลนด์ เกาะตอนเหนือของนิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น


 

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  2,695
Today:  9
PageView/Month:  10

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com